ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโลจิสติกส์

Moving Companies  » Logistics »  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโลจิสติกส์

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโลจิสติกส์

0 Comments
โลจิสติกส์

หากถามใครสักคนเกี่ยวกับโลจิสติกส์ แน่นอนว่า คำตอบที่ได้รับมานั้นมีคล้ายคลึงกันก็ร้อยละ 80% คิดว่า สายอาชีพนี้เรียนเกี่ยวกับการขนส่ง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก โลจิสติกส์เป็นมากกว่าการขนส่งหรือจะพูดให้เข้าใจง่าย คือ การขนส่งเป็นเพียงแค่หนึ่งในกิจกรรมของโลจิสติกส์เท่านั้น ดังนั้นในวันนี้เราจึงได้รวบรวมกิจกรรมเกี่ยวกับโลจิสติกส์หลัก ๆ มาให้ได้ลองอ่านและทำความเข้าใจสำหรับคนที่สนใจอยากเรียนสายนี้หรือทำงานด้านนี้จริง ๆ 

โลจิสติกส์ไม่ได้มีเพียงแค่การขนส่ง

หลัก ๆ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 กิจกรรม ดังต่อไปนี้

1. transportation การบริหารการขนส่ง 

กระบวนการทำงานจะครอบคลุมทั้งด้านการจัดการเอกสาร บริหารจัดการเวลา เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสินค้าปริมาณที่บรรทุก รวมถึงเส้นทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่ง

2. Sourcing and Procurement การจัดหาและจัดซื้อ 

กระบวนการทำงานจะครอบคลุมการวางแผนทั้งหมด ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ทุกขั้นตอนในโซ่อุปทาน โดยต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกัน ทั้งระบบการทำงานและคนในองค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ ยังต้องทำงานร่วมกับหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่ง ฝ่ายขายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการเงิน เป็นต้น

3. Customer service and support การบริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน 

เป็นการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า โดยครอบคลุมทั้งการส่งมอบและการวางแผนจัดเตรียมวัตถุดิบ การศึกษาการตลาด แผนการผลิต แผนการจัดเตรียมสินค้าสำเร็จรูป พร้อมทั้งมีการจัดส่งสินค้าให้ตรงเวลาและครบตามจำนวน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่ผู้ประกอบการคาดการณ์ความต้องการลูกค้าไว้ล่วงหน้า

4. Logistics communication and order processing การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ 

กระบวนการนี้ผู้รับผิดชอบต้องสามารถสื่อสารข้อมูลกับผู้เกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจตรงกัน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปทิศทางเดียวกัน

5. Demand forecasting and planning การวางแผนกำลังการผลิตและการคาดการณ์ปริมาณความต้องการของลูกค้า 

เพื่อกำหนดระดับสินค้าคงคลังขององค์กรที่เหมาะสม โดยทางผู้ประกอบการต้องร่วมประชุมกับทุกฝ่าย

6. Material handling and packaging การดำเนินการผลิตบรรจุและขนส่ง 

เป็นกระบวนการที่สามารถลดขั้นตอนการทำงานและมีความแม่นยำในกระบวนการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเอาเครื่องมือที่ทันสมัยและเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยประหยัดต้นทุน

7. Inventory management การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง 

กระบวนการทำงานครอบคลุมการจัดเตรียมพื้นที่ การวางแผนจัดการให้มีความสอดคล้องกับแผนการผลิตและการจัดเก็บสินค้าเป็นไปตามมาตรฐาน

8. Facilities site section, warehouse, and storage การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและการจัดคลังสินค้า

โดยต้องมีการจัดการวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับต้นทุน สถานประกอบการต้องมีความเข้าใจตลาดวัตถุดิบเป็นอย่างดี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการผลิตและส่งมอบวัตถุดิบร่วมกับซัพพลายเออร์ ทั้งนี้สามารถช่วยลดต้นทุน เวลา และข้อผิดพลาดในการส่งมอบได้

9. Reverse logistics โลจิสติกส์ย้อนกลับ

กิจกรรมนี้เกิดขึ้นในกรณีที่พบว่า วัตถุดิบที่ส่งจากซัพพลายเออร์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ผู้ประกอบการต้องมีการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน หากจำเป็นต้องคืนต้องมีการทำข้อตกลงกันอย่างชัดเจน หรือในกรณีที่สินค้าสร้างความเสียหายหรือมีปัญหากับลูกค้า ต้องรีบดำเนินการเรียกคืนตามมาตรฐานที่กำหนดโดยเร็วที่สุด

อย่างไรก็ตาม 9 กิจกรรมที่เรากล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับสาขางานของโลจิสติกส์นั้นเป็นเพียงแค่งานหลัก พื้นฐานสำคัญที่บริษัทเกือบทุกแห่งพึงมี ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างงานที่มีคุณภาพ ซึ่งอีกหนึ่งสายอาชีพที่น่าจับตามองและมีแนวโน้มเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น